วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติวัดพระเจ้าทองทิพย์

ป้ายชื่อวัดพระเจ้าทองทิพย์


บันไดขึ้นสู่ศาลาปฏิบัติธรรมทรงเรือ

ศาลาปฏิบัติธรรมทรงเรืองกลางแม่น้ำลาว ด้านหน้าวัด

วัดพระเจ้าทองทิพย์ แต่เดิมเป็นวัดร้าง อยู่ในเขต บ้านป่าหวาย ซึ่งในอดีต เป็นป่าหวาย ทั้งหมู่บ้าน ชาวบ้าน จึงเรียกว่า บ้านป่าหวาย จนถึงปัจจุบันนี้ เมื่อประมาณ พ.ศ 2089 พระเจ้าไชยเชษฐาของกรุงศีรสันตนาคนหุตเมืองหลวง พระบาง(นครเชียงทอง)จะไปครองนครเชียงใหม่ ตามคำทูลของ เสนาอำมาตย์ ของเมืองเชียงใหม่พระองค์ได้นิมนต์พระเจ้าทองทิพย์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่ลงเรือมาด้วย เพื่อจะนำไปสักการะบูชาที่นครเชียงใหม่ พระองค์จึงทรงประทับเรือ พระที่นั่งตามลำน้ำโขงเข้ามาแม่น้ำกกและแม่น้ำลาว ตามลำดับ ครั้นมาถึงหน้าวัดพระเจ้าทองทิพย์ ปัจจุบันเรือพระที่นั่งก็มาติด ทั้งๆที่ไม่สิ่งขีดขวางอะไรเลย เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐา ทรงเห็นว่าเหล่าเสนาอำมาตย์หมดความสามารถแล้วจึงรับสั่งให้เสนาอำมาตย์ นิมนต์พระเจ้าทองทิพย์ ขึ้นทางทิศตะวันตกและโปรดให้สร้างมณฑปไว้เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทองทิพย์ แล้วพระองค์ก็เสด็จไปครองนครเชียงใหม่ต่อไปและต่อมาชาวบ้านจึงเรียกชื่อวัดตามพระพุทธรูปว่า วัดพระเจ้าทองทิพย์สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้

วัดพระเจ้าทองทิพย์เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ 2368 โดยท่านครูบาญาโณ พร้อมด้วย อุบาสก 3 คน คือ ท้าวสงคราม แสนขวาง และหมื่นขันธ์ ได้มา ริเริ่มสร้างประตูโขง พ.ศ 2397 ท่านครูบายะ ครูบาถา และครูบาพรหม ตลอดถึงเจ้าหลวงผู้ครองนครเชียงราย และพระยาไชยวงค์ ผู้รักษาเมืองหนองขวาง(อำเภอแม่สรวยปัจจุบัน)ร่วมกันสร้างพระวิหารพ.ศ 2461ท่านครูบาชัยวุฒิวริปัญญาได้รื้วิหารหลังเก่าบูรณะขึ้นใหม่ โดยได้รับทุนทรัพย์จากเจ้าดารารัศมี ผู้ครองนครเชียงใหม่จำนวน 200รูปีและบูรณะเสร็จในปีนั้นและได้บูรณะวิหารอีกครั้งพ.ศ 2539โดยพระอธิการประยุทธ ติกขวีโร พร้อมด้วยคณะศรัทธาได้ช่วยกันรื้อวิหารบูรณะใหม่เสร็จในปี พ.ศ 2541

พระอธิการประยุทธ ติกขวีโร

เจ้าอาวาสวัดพระเจ้าทองทิพย์
โทร 053 - 708227

ประวัติ..พระเจ้าทองทิพย์


พระเจ้าทองทิพย์ เป็นนามของพระพุทธรูปเก่าแก่ เดิมอยู่กรุงศรีสันตนาคนหุต (หลวงพระบาง)ประเทศลาว มีอายุประมาณพันปีเศษแล้ว พระเจ้าทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่และเชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ดังปารากฎว่า เมื่อ พ.ศ 2063 พระเจ้าโพธิสารซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าวิชุลราชขึ้นครองนครเชียงทอง (พระบาง) พระเจ้าโพธิสารขึ้นครองราช เมื่อ อายุ 19 พรรษา ต่อมาได้ไปขอราชธิดากษ์ตริย์เชียงใหม่ คือธิดาของสมเด็จพระเกศเกล้านามว่าพระนางยอดคำทิพย์ มาเป็นมเหสีพระเจ้าโพธิสาร ได้ครองราชสมบัติ ร่วมกัน เป็นเวลาหลายปีก็ไม่มีโอรสพระเจ้าโพธิสาร ทรงวิตกว่าภายหน้าจะไม่มีผู้สืบราชต่อไป จึงได้ดำริขึ้นว่าพระเจ้าทองทิพย์เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของนครเชียงทองประจำนครมาแต่โบราณกาล สามารถดลบันดาลให้ผู้ที่ไปขอพร สมความปรารถนาได้ดังที่ขอ ดังนั้นในวันวิสาขบูชา พระเจ้าโพธิสารพร้อมด้วยพระนางยอดคำทิพย์และบริวารจึงได้นำดอกไม้ธูปเทียนไปนมัสการพระเจ้าทองทิพย์เป็นการไปตามประเพณีนิยมในวันวิสาขบูชาเมื่อนมัสการแล้วก็ขอพรตั้งสัตยาธิฐานต่อหน้าพระเจ้าทองทิพย์ขอให้พระนางยอดคำทิพย์มีพระโอรสด้วย ไม่ช้าพระนางยอดคำทิพย์ ก็ทรงมีพระครรภ์เมื่อครบกำหนดก็ประสูตรเป็นพระโอรส ทรงพระนามว่า" ไชยเชษฐากุมาร " เมื่อพระไชยเชษฐาเจริญวัยขึ้น อายุ 14 พรรษา พระอัยกาธิบดี คือพระเมืองเกศเกล้ากษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่สวรรคต และไม่มีโอรสเลย เหล่าเสนาอำมาตย์ และพระสงฆเจ้าทั้งหลายของนครเชียงใหม่ นำโดย พระยาสามล้าน และพระยาเชียงแสน พร้อมกันมาทูลขอ พระเจ้าไชยเชษฐาไปครองนครเชียงใหม่ พระเจ้าโพธิสารก็ทรงอนุญาติให้พระโอรสไปครองนครเชียงใหม่ตามความประสงค์พระเจ้าโพธิสาร ได้ตกแต่งขบวนแห่และยกทัพใหญ่ไปส่งพระโอรสด้วย ก่อนที่พระไชยเชษฐาจะเสด็จไปนครเชียงใหม่ พระเจ้าโพธิสารได้บอกให้พระโอรสนำพระเจ้าทองทิพย์ไปด้วย เพราะเสมือนให้กำเนิดมาเมื่อตอนไปขอให้มเหสีมีโอรสพระเจ้าไชยเชษฐา จึงได้นำพระเจ้าทองทิพย์ลงเรือไปด้วย เพื่อจะนำไปยังนครเชียงใหม่ พระองค์ทรงลงเรือพระที่นั่งขึ้นมาตามลำน้ำโขงเข้าสู่แม่น้ำกกและแม่น้ำลาว ตามลำดับครั้นเรือมาถึงหน้าวัดพระเจ้าทองทิพย์ปัจจุบันเรือพระที่นั้ง ก็มาติดอยู่ทั้งๆที่ไม่มีสิ่งขีดขวางอะไรเลยลูกเรือพยายามจะถ่อเรือขึ้นเรือก็ไม่ขึ้น จะถ่อเรือลงเรือก็ไม่ลง เหตุที่เป็นเช่นนั้น (สันนิษฐานว่าเทพยดาที่ปกปักรักษาพระเจ้าทองทิพย์ ทรงทราบว่าที่เชียงใหม่นั้นมีปูชนียสถานและ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนมากมายอยู่แล้ว) จึงใคร่ที่จะให้ พระเจ้าทองทิพย์ประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระเจ้าทองทิพย์นี้จึงบันดาล ให้เรือพระที่นั่งติดอยู่ที่หน้าวัดพระเจ้าทองทิพย์ปัจจุบันนี้เมื่อ พระเจ้าไชยเชษฐา ทรงเห็นว่า ลูกเรือพยายาม จนสุดความสามารถแล้ว จึงสั่งให้บรรดาท้าวพระยาเสนาอำมาตย์ นิมนต์พระเจ้าทองทิพย์ขึ้นไว้ที่ วัดพระเจ้าทองทิพย์ปัจจุบัน และ ทรงโปรด ให้สร้าง มณฑป ไว้เป็น ที่ประดิษฐานองค์ พระเจ้าทองทิพย์โดยคิดว่าเมื่อไม่ได้ไว้ที่ใกล้สมดังความประสงค์แล้ว ถ้ามีธุระไปหลวงพระบางก็ดี หรือกลับเชียงใหม่ก็ดีก็ จะแวะไปทำการสักการะบูชา หรือ ถวายเครื่องทรงได้ สะดวก เมื่ออาราธนานิมนต์ พระเจ้าทองทิพย์ ประดิษฐาน ที่นั่นแล้ว ก็เสด็จไปนครเชียงใหม่ พระเจ้าไชยเชษฐา ครองราชที่นครเชียงใหม่ได้เพียงสองปีพระเจ้าโพธิสารก็สรรคต เสนาอำมาตย์นครเชียงทองจึงมาทูลเชิญกลับ พระเจ้าไชยเชษฐาจึงได้เป็นกษัตริย์ครองทั้งสองแผ่นดินปีขาล ราว พ.ศ 2368 ครูบายาโณ พร้อมด้วย อุบาสกสามคน คือ ท้าวสงครามแสนขวาง หมื่นขันธ์ ได้ลงกันสร้างวิหารเป็นที่ประดิษฐาน พระเจ้าทองทิพย์ ท่ามกลางป่านั้นและได้บอกเล่าให้ประชาชนรู้ถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าทองทิพย์ประชาชนเกิดความเลื่อมใสเคารพนับถือกันมาจนถือเป็นประเพณีสักการะบูชาประจำปี
ต่อมาในปีพ.ศ 2397ท่าน ครูบายะ ครูบาถา ครูบาพรหมตลอดถึงเจ้าหลวงผู้ครองเมืองเชียงราย และพระยาไชยวงค์ผู้รักษาเมืองหนองขวาง (อำเภอแม่สรวยปัจจุบัน)ได้เป็นประธานนำราษฏรบูรณะวิหารเป็นที่ประดิษฐานของพระเจ้าทองทิพย์ ครั้นถึง พ.ศ 2461 เจ้าดารัศมีและเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้ทำการสักการะบูชา พระเจ้าทองทิพย์ และมาพักแรมอยู่ ที่นั้นหลายคืนเห็นว่าวิหารนั้นชำรุดมากจึงแนะนำให้ครูบาชัยวุติ วชิรปัญญาพร้อมด้วยคณะสงฆ์และคณะศรัทธาช่วยกันบูรณะวิหารจนเสร็จในปีนั้น

พระเจ้าทองทิพย์ ที่อยู่ตามวัดต่างๆในเขตอำเภอแม่สรวยเหุตที่เรียกว่า พระเจ้าทองทิพย์เนื่อง จากได้นำ พระพุทธรูปจากวัดพระเจ้าทองทิพย์ไปสักกาบูชาจึงเรียกชื่อตาม พระเจ้าทองทิพย์ องค์จริง ดั้งเดิม ยังคงประดิษฐาน อยู่ที่วัดพระเจ้าทองทิพย์จนถึงปัจจุบัน

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ร่วมสร้างศาลาปฎิบัติธรรม

ร่วมสร้างศาลาปฎิบัติธรรมทรงเรือกันเถอะค่ะ
ผู้ที่สนใจสามารถร่วมทำบุญได้ที่วัดกับพระอาจารย์ประยุทธ์
โทร 080-502-0049